เสื่อกกทอมือ
กก พืชน้ำที่ที่มากกว่าพืชธรรมดา
ผู้เข้าชมรวม
10,274
ผู้เข้าชมเดือนนี้
4
ผู้เข้าชมรวม
เรื่อง... เสื่อกกทอมือ
ผู้จัดทำ
1. นายปฏิภาณ เหวชัยภูมิ เลขที่ 45 ชั้น ม.4/2
2. นางสาวสุวรรณี อุดมทรัพย์ เลขที่ 49 ชั้น ม.4/2
ครูที่ปรึกษา
นางสาวปราณปรียา คุณประทุม
โรงเรียนแก้งคร้อวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
บทคัดย่อ
โครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เสื่อกกทอมือ ในตำบลคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของการทอเสื่อกก เพื่อให้รู้จักขั้นตอนวิธีการทอเสื่อกก เพื่อสืบทอดและดำรงรักษาภูมิปัญญาการทอเสื่อกกให้คงอยู่ตลอดไป และเพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาการทอเสื่อกกให้แพร่หลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ชาวบ้านนาเสียว หมู่ที่ 5 ตำบลคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์
ผลของการศึกษา เรื่อง การทอเสื่อกก ทำให้ได้ทราบว่า การทอเสื่อกกมีการสืบทอดมาตั้งแต่สมัย ปู่ย่า ตายาย โดยเริ่มแรกมีการใช้กกเหลี่ยม หรือที่เรียกว่าผือนา ยังไม่มีการย้อมสีผลิตภัณฑ์ หรือทำลวดลาย ส่วนใหญ่นำมาใช้ในครัวเรือน ส่วนในปัจจุบันนิยมใช้กกกลมมาใช้แทนกกเหลี่ยม เนื่องจาก หาง่ายในแหล่งธรรมชาติ และเมื่อนำมาทอเสื่อแล้ว มีคุณสมบัติเหนียว และเป็นมันวาว ผู้เรียนได้เกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าภูมิปัญญาการทอเสื่อกก สมาชิกในกลุ่มมีความสามัคคีในการปฏิบัติงานอย่างดี ทำให้ได้เอกสารเกี่ยวกับการทอเสื่อกกไว้เผยแพร่ และใช้เป็นแนวทางในการทำโครงงานอื่น ๆแก่ผู้สนใจ
กิตติกรรมประกาศ
การจัดทำโครงงาน เรื่องเสื่อกกทอมือ สำเร็จสมบูรณ์ได้ด้วยความกรุณา และช่วยเหลืออย่างดียิ่งของคุณครูปราณปรียา คุณประทุม ครูที่ปรึกษาโครงงาน ที่ได้กรุณาตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นจนจบ ผู้ศึกษาขอกราบของพระคุณเป็นอย่างสูง
ขอขอบพระคุณบิดา มารดา ที่ส่งเสริมสนับสนุน และให้กำลังใจในการทำงานครั้งนี้จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ขอบคุณเพื่อนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ทุกคนที่ให้ความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจ และคำเสนอแนะเป็นอย่างดี
คณะผู้จัดทำ
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของโครงงาน
ชาวบ้านในอำเภอคอนสวรรค์ มีอาชีพทำเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ เมื่อว่างเว้นจากการทำเกษตรกรรม ก็มีการประกอบอาชีพเสริม เช่นการทอสื่อกก กันมาก บางครัวเรือนได้ยึดเป็นอาชีพหลัก สร้างรายได้ให้กับครอบครัวซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดมาตั้งแต่โบราณ ซึ่งมีการพัฒนาลวดลายบนผืนเสื่อเป็นลวดลายต่างหลากหลาย มีความสวยงาม โดดเด่น ดังนั้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมปัญญาท้องถิ่น ให้สามารถยึดเป็นอาชีพหลักและอาชีพรองได้ ทางกลุ่มจึงได้จัดทำโครงงานนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ทราบความเป็นมาของการทอเสื่อกก
2. เพื่อให้รู้จักขั้นตอนวิธีการทอเสื่อกก
3. เพื่อเป็นการสืบทอด และดำรงรักษาภูมิปัญญาการทอเสื่อกกให้คงอยู่กับสังคมท้องถิ่นต่อไป
4. เพื่อเป็นการเผยแพร่ภูมิปัญญาการทอเสื่อกกให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
ความสำคัญของการศึกษา
1. ได้แนวทางสำหรับผู้สนใจในการจัดการเรียนรู้โดยโครงงานใช้สำหรับการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ในเนื้อหา วิชาอื่น ๆ และระดับชั้นอื่น ๆ ต่อไป
ขอบเขตของการศึกษา
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร ได้แก่ ชาวบ้านในตำบลคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ชาวบ้านในหมู่บ้านนาเสียว ตำบลคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ ที่ทอเสื่อกกหลังว่างจากการทำนา
2. เนื้อหา
เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ คือ เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีรายละเอียด ดังนี้
1. ความหมาย ความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. ลักษณะของภูมิปัญญาท้องถิ่น
3. ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย
4. ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
5. ภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาค
6. การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย
7. คุณค่าและการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
คำนิยามศัพท์
1. การทอเสื่อกก หมายถึง การนำต้นกกที่เกิดขึ้นตามแหล่งต่าง ๆ เช่น ห้วย หนอง
คลอง บึง หรือตามที่ชาวบ้านปลูก มาสอยตากแห้งและนำมาทอเป็นผืนเสื่อใช้ประโยชน์สำหรับปูนอน ปูพื้นสำหรับรับแขก ปูลาดตามพื้นในโบสถ์ ศาลาวัด หรืองานในชุมชนต่าง ๆ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้รู้จักประวัติความเป็นมาการทอเสื่อกก
2. ได้รู้จักขั้นตอนและวิธีการทอเสื่อกก
3. ได้สืบทอด และดำรงรักษาภูมิปัญญาการทอเสื่อกกให้อยู่กับสังคมท้องถิ่นตลอดไป
4. ได้เผยแพร่ภูมิปัญญาการทอเสื่อกกให้แพร่หลาย
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ทางกลุ่มผู้ศึกษา ได้ทำการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวคิดในการศึกษาค้นคว้า ดังนี้
1. เอกสารเกี่ยวกับโครงงาน
2. เอกสารเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอคอนสวรรค์
1. เอกสารเกี่ยวกับโครงงาน
โครงงาน หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติอย่างเป็นระบบ
เพื่อสร้างองค์ความรู้หรือแก้ไขปัญหาโดยการศึกษาค้นคว้า ทดลองตามขั้นตอนและส่วนประกอบ
ของโครงงาน
1. หลักการสำคัญของการเรียนรู้แบบโครงงาน
1.1 ผู้เรียนได้เลือกเรื่อง ประเด็น หรือปัญหาที่ต้องศึกษาด้วยตนเอง
1.2 ผู้เรียนสามารถเลือกวิธีการศึกษาด้วยตนเอง
1.3 ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติการเรียนรู้ด้วยตนเอง
1.4 ผู้เรียนรู้จักบูรณาการทักษะ ประสบการณ์ ความรู้ที่มีอยู่ในสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างองค์ความรู้
1.5 ผู้เรียนรู้จักสร้างข้อคำถาม แสวงหาคำตอบด้วยตนเอง
1.6 ผู้เรียนรู้จักสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง
1.7 ผู้เรียนรู้จักการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้กับผู้อื่น
1.8 ผู้เรียนสามารถนำคำตอบหรือองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง
2. ลักษณะของโครงงาน
โครงงานเป็นส่วนที่ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ และสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ
1. โครงงานตามสาระการเรียนรู้ เป็นโครงงานที่ผู้เรียนเลือกหัวข้อที่จะศึกษา
จากหน่วยเนื้อหาที่เรียนในชั้นเรียน มากำหนดหัวข้อโครงงาน โดยบูรณาการความรู้ในกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ต่าง ๆ ไปค้นคว้าในสาระการเรียนรู้ที่สนใจและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
2. โครงงานตามความสนใจ เป็นโครงงานที่ผู้เรียนสนใจจะศึกษาในเรื่องใดเรื่อง
หนึ่งเป็นพิเศษ อาจเป็นเรื่องในชีวิตประจำวัน สภาพสังคมที่ยังต้องการคำตอบข้อสรุปที่อาจอยู่นอกเหนือจากสาระการเรียนรู้ในบทเรียน แต่ใช้ประสบการณ์จากการเรียนรู้ไปแสวงหาคำตอบ
ในเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ
3. ประเภทของโครงงาน
1. โครงงานประเภทสำรวจ เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลเหล่านั้นมาจัดเป็นหมวดหมู่ แล้วนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เห็นลักษณะหรือความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ศึกษา เช่น การศึกษาพฤติกรรมของสัตว์บางชนิด การศึกษาวงจรชีวิตของแมลง
2. โครงงานประเภททดลอง เป็นการศึกษาหาคำตอบของปัญหา โดยการออกแบบการทดลอง และดำเนินการทดลอง เพื่อหาคำตอบของปัญหาที่ต้องการทราบ หรือเพื่อตรวจสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้ เช่น การทดลองสารเคมีในอาหาร การเจริญเติบโตของพืชที่ใช้ปุ๋ยต่างชนิดกัน
3. โครงงานประเภทพัฒนาหรือการประดิษฐ์ เป็นการพัฒนาหรือประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ อาจเป็นการประดิษฐ์สิ่งใหม่หรือยังไม่เคยมีมาก่อน หรือการปรับปรุงของเดิมให้ดีขึ้น หรืออาจเป็นการสร้างแบบจำลองทางความคิดเพื่อแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง เช่น การประดิษฐ์เครื่องดักแมลง การผลิตเครื่องจักสานจากวัสดุต่าง ๆ
4. โครงงานประเภทการสร้างทฤษฏี การอธิบาย การทบทวนวรรณคดี การค้นหา
องค์ความรู้ เป็นโครงงานศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุ ความเป็นมา ผลกระทบ ตลอดจนเรื่องราวต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล แล้วนำหลักการหรือทฤษฏีมาสนับสนุน อาจเสนอในรูปแบบของคำอธิบาย บทความ เรียงความ บทสนทนา สูตรหรือสมการ เช่น การกำเนิดอารยธรรมบ้านเชียง การเกิดปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค
4. ส่วนประกอบของโครงงาน
การเขียนรายงานโครงงานเป็นรูปแบบหนึ่งของการเสนอผลงานที่นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าตั้งแต่ต้นจนจบ โครงงานที่สมบูรณ์ควรประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1. ชื่อโครงงาน
2. ระยะเวลาที่จัดทำ ( ระหว่างวันที่/เดือน/พ.ศ...ถึง วันที่/เดือน/พ.ศ...)
3. ชื่อผู้ทำโครงงาน ( บอกระดับชั้นและชื่อโรงเรียนด้วย )
4. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
5. บทคัดย่อ ( สรุปเรื่องที่ศึกษา วิธีการศึกษา และข้อค้นพบสั้น ๆ )
6. กิตติกรรมประกาศ ( ประกาศขอบคุณผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในกรณีที่มี )
7. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
8. วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า
9. คำตอบที่คาดเดาก่อนเริ่มลงมือปฏิบัติ
10. วิธีการศึกษาค้นคว้า
11. ผลที่เกิดขึ้น
12. สรุปผล
13. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
14. ข้อเสนอแนะ
15. เอกสารที่อ้างอิง
5. ประโยชน์ของโครงงาน
1. กิจกรรมโครงงานเหมาะการศึกษาในยุคข่าวสาร
2. เป็นกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้เต็มที่
3. เกิดความรู้จริง ซึ่งได้จากการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยการทดลอง ปฏิบัติ ค้นคว้า
4. สามารถใช้ความรู้ได้หลายด้าน ( หลายมิติ )
5. เกิดปัญญาเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
6. ฝึกให้ผู้เรียนเป็นคนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น
7. ผู้เรียนได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และเกิดความภาคภูมิใจที่ทำงานสำเร็จ
8. ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานจากการเรียนรู้
9. ช่วยสนับสนุนให้ผู้เรียนเป็นนักค้นคว้า ( นักวิทยาศาสตร์ )
6. ขั้นตอนของโครงงาน
ขั้นตอนของโครงงานเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องและมีการดำเนินงานหลายขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นสุดท้าย อาจสรุปลำดับได้ดังนี้
1. การคิดและเลือกหัวเรื่อง ผู้เรียนจะต้องคิดและเลือกหัวเรื่องของโครงงานด้วยตนเองว่าอยากจะศึกษาอะไร ทำไมจึงอยากศึกษา หัวเรื่องของโครงงานมักจะได้จากปัญหา คำถาม เช่น จากการอ่านหนังสือ เอกสาร คำประพันธ์ การไปเยี่ยม ชมสถานที่ต่าง ๆ การฟังบรรยายทางวิชาการ การเข้าชมนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ การสนทนากับบุคคลต่าง ๆ หรือจากการสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ รอบตัว เป็นต้น นอกจากนี้ ควรคำนึงเรื่องต่อไปนี้
1.1 ความเหมาะสมของระดับความรู้ ความสามารถของผู้เรียน
1.2 วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
1.3 ระยะเวลา
1.4 ความปลอดภัย
1.5 แหล่งความรู้
2. การวางแผน การวางแผนการทำโครงงาน จะรวมถึงการเขียนเค้าโครงของโครงงาน ซึ่งต้องมีการวางแผนล่วงหน้า เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรัดกุมและรอบคอบไม่สับสน แล้วเสนอต่อผู้สอนหรือที่ปรึกษาเพื่อขอความคิดเห็นชอบก่อนดำเนินการขั้นต่อไป การเขียนเค้าโครงของโครงงานโดยทั่วไป เขียนเพื่อแสดงแนวคิด แผนงาน และขั้นตอนการทำโครงงาน
ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
2.1 ชื่อโครงงาน ควรเป็นข้อความที่กระทัดรัด ชัดเจน สื่อความหมายได้ตรง
2.2 ชื่อผู้ทำโครงงาน
2.3 ชื่อปรึกษาโครงงาน
2.4 หลักการและเหตุผลของโครงงานเป็นอธิบายว่าเหตุใดจึงเลือกทำโครงงานนี้มีความสำคัญอย่างไร มีหลักการหรือทฤษฏีอะไรที่เกี่ยวข้องเรื่องที่ทำได้ขยายเพิ่มเติม ปรับปรุงจากเรื่องที่ผู้อื่นทำไว้อย่างไร หรือเป็นการทำซ้ำเพื่อตรวจสอบผล
2.5 จุดมุ่งหมาย/วัตถุประสงค์ควรมีความเฉพาะเจาะจง และสามารถวัดได้
เป็นการบอกขอบเขตของงานที่ทำให้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
2.6 สมมติฐานของการศึกษา ค้นคว้า ( ถ้ามี ) สมมติฐานเป็นคำตอบหรือคำอธิบายที่คาดไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจจะถูกหรือไม่ก็ได้ การเขียนสมมติฐานควรมีเหตุมีผล มีทฤษฏีหรือหลักการรองรับ และที่สำคัญ คือเป็นข้อความที่มองเห็นแนวทางในการดำเนินการ ทดสอบได้นอกจากนี้ยังควรมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามด้วย
2.7 วิธีดำเนิน/ขั้นตอนการดำเนินงานจะอธิบายว่า จะออกแบบการทดลองอย่างไร อะไร จะเก็บข้อมูลอย่างไรบ้าง รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น ต้องใช้ มีอะไรบ้าง
2.8 แผนปฏิบัติงาน อธิบายเกี่ยวกับการกำหนดเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้น
การดำเนินแต่ละขั้นตอน
2.9 ผลคาดว่าที่จะได้รับ
2.10 เอกสารอ้างอิง
3. การดำเนินงาน เมื่อที่ปรึกษาโครงงานให้ความเห็นชอบเค้าโครงของโครงงานแล้ว ต่อไปเป็นขั้นลงมือปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่ได้ระบุไว้ ผู้เรียนต้องพยายามทำตามชุดที่วางไว้ เตรียมวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ให้พร้อม ปฏิบัติงานด้วยความละเอียดรอบคอบ คำนึงถึงความประหยัดและปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ว่า ได้ทำอะไรไปบ้าง
ได้ผลอย่างไรบ้าง มีปัญหาและข้อคิดเห็นอย่างไร พยายามบันทึกให้เป็นระเบียบ และครบถ้วน
4. การเขียนรายงาน การเขียนรายงานเกี่ยวกับโครงงาน เป็นวิธีสื่อความหมายวิธีหนึ่งที่จะให้ผู้อื่นได้เข้าใจถึงแนวคิด วิธีการดำเนินการ ผลที่ได้รับ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น การเขียนโครงงานควรใช้ภาษาที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย
ชัดเจนและครอบคลุมประเด็นสำคัญ ๆ ทั้งหมดของโครงงาน
5. การนำเสนอผลงาน การนำเสนอผลงานเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำโครงงานเป็นวิธีการที่จะทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น การนำเสนอผลงานอาจทำได้รูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับประเภทของโครงงาน เนื้อหา เวลา ระดับของผู้เรียน เช่น การแสดงบทบาทสมมุติการเล่าเรื่องราว การเขียนรายงาน สถานการณ์จำลอง การสาธิต การจัดนิทรรศการ ซึ่งอาจมีทั้งการจัดแสดงและการอธิบายด้วยคำพูด หรือการรายงานปากเปล่า การบรรยาย การใช้ Multimedia Computer Homepage สิ่งสำคัญคือพยายามทำให้การแสดงผลงานนั้นดึงดูดความสนใจของผู้ชมมีความชัดเจน เข้าใจง่าย และมีความถูกต้องของเนื้อหา
3. ข้อมูลเกี่ยวกับกก
ต้นกกที่ใช้ทำเสื่อ เรียกว่า กกลังกา หรือกกกลม หรือ ไหล มีอยู่ทั่วไปในทุกจังหวัดในภาคอีสาน และมีมากในจังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดระยอง จังหวัดชลบุรี ต้นกกเป็นหญ้าชนิดหนึ่งมีหัวเหมือนข่า แต่แก่เล็กกว่า แล้วแตกแขนงเป็นต้นตามหัวของมัน อย่างเดียวกับข่า กก มี 2 ชนิด คือ
1. กกพื้นเมือง ตามภาษาพื้นเมือง เรียกว่า “กกเหลี่ยม” หรือ “ผือนา” ที่เรียกเช่นนี้
เพราะลักษณะลำต้นเป็นเหลี่ยมสามเหลี่ยม ผิดกว่าต้นหญ้าธรรมดา ผิวของกกเหลี่ยมแข็งกรอบ และไม่เหนียว เมื่อนำมาทอเป็นผืนเสื่อแล้วขัดไม่เป็นเงา เฉพาะอย่างยิ่งใช้ไม่ทนทาน เพราะฉะนั้นจึงไม่มีผู้นิยมใช้กกชนิดนี้มาทำเป็นเสื่อมากนัก
2. กกพันธุ์ลังกา ภาษาพื้นเมือง เรียกว่า “กกกลม” หรือ “ไหล” ที่เรียกเช่นนี้ เนื่องจาก
ลำต้นของมันกลม ผิวอ่อนนุ่ม เหนียว ไม่กรอบ เมื่อนำมาทอเป็นเสื่อแล้วนิ่มนวลน่าใช้ ขัดถูก็เป็นมันน่าดู จึงมีผู้ใช้กกกลมมาทอเสื่อกันมาก
ประโยชน์ของกกมีหลายอย่าง ดังนี้
1. ทำเป็นเสื่อสำหรับนอน สำหรับปูพื้นในห้องรับแขกแทนพรม และปูลาดตามพื้น
โบสถ์ วิหาร เพื่อความสวยงาม เป็นต้น
2. ทำเป็นกระเป๋ารูปต่าง ๆ ได้หลายแบบ แล้วแต่ผู้คิดประดิษฐ์แบบต่าง ๆ กัน เช่น กระเป๋าสตางค์ กระเป๋าหิ้วของสตรี
3. ทำเป็นหมอน เช่น หมอนรองที่นั่ง หมอนพิงพนักเก้าอี้
4. ทำเป็นกระสอบ เรียกว่า กระสอบกก
5. ทำเป็นเชือกสำหรับมัดของที่ห่อแล้ว
การปลูก
1. การเลือกดิน กกชอบขึ้นในที่ดินเลน แต่ต้องอยู่ในที่ลุ่ม มีน้ำขังเสมอ หรือน้ำขึ้นถึงทุกวันได้ยิ่งดี ระดับในนากก ประมาณ 25
2. การเตรียมที่ดิน เมื่อเลือกหาพื้นที่ดินพอสำหรับปลูกกกได้แล้ว จัดการถากถางให้ดินซุยและให้หญ้าตายเช่นเดียวกับนาข้าว เพราะหญ้าเป็นศัตรูของกกเหมือนกัน ทั้งต้องทำคันนาไว้สำหรับขังน้ำไว้เช่นเดียวกับการทำคันนาข้าว ที่ ๆ สำหรับปลูกกกนี้ เรียกว่า นากก
3. การปักดำ การดำนากก เหมือนการดำนาข้าว ใช้หัวกกที่ติดอยู่กับลำต้นตัดปลายทิ้งแล้วให้เหลือยาวเพียง 50 เซนติเมตร ซึ่งซื้อหรือแยกมาจากนากกของตน มัดเป็นกำ ๆ นำเอาพันธ์เหล่านั้นไปยังนากกที่เตรียมแล้ว แยกออกเป็นหัว ๆ ดำลงในนากก ห่างกันประมาณ 20
4. การบำรุงรักษา เมื่อเสร็จจากการดำเรียบร้อยแล้ว ชางนากกก็หมดภาระอันหนัก มีแต่งานเล็ก ๆ น้อย ๆ คือ
4.1 การทำรั้ว รั้วนี้เป็นรั้วป้องกันวัวและควายที่จะมาเหยียบย่ำในนากก หรือกัดกินต้นกกที่ลัดขึ้นมา
4.2 การถอนหญ้า การถอนหญ้าในนากก นานๆจะมีการถอนหญ้ากันสักครั้ง เมื่อเห็นว่ามีหญ้าขึ้นมาก บางแห่งไม่ต้องถอนหญ้าเลย เพราะเมื่อกกขึ้นจนแน่นหนา หย้าไม่สามารถขึ้นมาได้
4.3 การใส่ปุ๋ย ตามปกตินากกเมื่อดำลงไปแล้วครั้งหนึ่ง ไม่ต้องดำอีกตั้งหลายๆปี บางแห่งไม่ต้องดำเลยตั้ง 10 ถึง 15 ปี เพราะตัดต้นกกไปแล้ว หัวกกยังอยู่จะแทงหน่อขึ้นมาเป็นลำต้นอีก และเมื่อเห็นว่ากกที่ขึ้นมาใหม่นั้นไม่งามควรหาปุ๋ยใส่ลงในนากก ปุ๋ยที่กกชอบมากที่สุดนั้น คือ ปุ๋ยขี้เป็ด ปลาเน่า และขี้น้ำปลา เป็นต้น ถ้าหากว่าไม่ต้องเป็นการเปลืองมากบางท่านใช้ปุ๋ยขี้ควายก็ใช้ได้
4.4 การซ่อมแซม เมื่อเห็นว่าตอนไหนกกห่าง หรือหัวกกตาย ไม่มีลำต้นแทงหน่อขึ้นมา ให้ใช้หัวกกดำแซมลงไป มากน้อยตามแต่สมควร
4.5 การเก็บเกี่ยว เมื่อเห็นต้นกกที่ดำมาแก่พอตัวแล้ว (ประมาณ 3 4 เดือน) สังเกตได้จากดอกกกมีสีเหลือง โดยมากมักจะตัดกกกันในฤดูฝน เมื่อกกแก่เต็มที่แล้ว ถ้าไม่มีการตัดมันไปมันจะเน่าเหี่ยวแห้งฟุบลงไป พอฝนเริ่มตก ก็แทงหน่อลัดขึ้นมาใหม่เช่นนี้เสมอ ความยาวของต้นกกนั้นที่ยาวที่สุด ตั้งแต่ 140
บทที่ 3
วิธีการศึกษา
ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ กลุ่มผู้ศึกษา กลุ่มผู้ศึกษาค้นคว้า ได้ดำเนินการศึกษาตามลำดับดังต่อไปนี้
1. วิธีการศึกษา
1. ประชุมปรึกษาหารือกันภายในกลุ่ม
2. กำหนดหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา หรือหัวข้อโครงงาน
3. ร่างเค้าโครงโครงงานเสนอต่อครูที่ปรึกษา
4. เก็บรวบรวมข้อมูล
5. ลงมือปฏิบัติ
6. วิเคราะห์ข้อมูล
7. สรุปผล
2. เครื่องมือและวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา
1. เครื่องมือในการทอเสื่อกก
1.1 โฮงทอ
1.2 ไม้ขื่อ
1.3 ฟืม
1.4 ด้ายไนล่อน
1.5 ไม้สอด
1.6 ไม้หัวเสื่อ
1.7 กรรไกร
1.8 ต้นกกตากแห้ง และย้อมสี
1.9 ถังน้ำ
1.10ผ้าสำหรับห่อต้นกก
1.11สีย้อม
2. วัสดุ / อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
2.1 กล้องถ่ายรูป
2.2 เครื่องคอมพิวเตอร์
2.3 แบบสอบถาม หรือแบบสัมภาษณ์
2.4 แบบบันทึกข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้า
2.5 แบบบันทึกข้อมูลการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต
3. ขั้นตอนการดำเนินการศึกษาค้นคว้า
วัน เดือน ปี | กิจกรรมที่ปฏิบัติ | สถานที่ | ผู้รับผิดชอบ |
17 มกราคม 2554 | 1. ประชุมปรึกษาหารือภายในกลุ่มเพื่อกำหนดหัวข้อโครงงาน 2.ร่างเค้าโครงโครงงาน 3.เสนอเค้าโครงโครงงานต่อครูที่ปรึกษา | ห้องเรียน ห้องเรียน ห้องเรียน | -สมาชิกทุกคน -สมาชิกทุกคน -สมาชิกทุกคน |
24 มกราคม 2554 | 4.แบ่งหน้าที่และมอบหมายภาระงานแก่สมาชิกทุกคน 5.เก็บรวบรวมข้อมูล 6.ศึกษาและฝึกปฏิบัติจริงจากวิทยากรท้องถิ่น | โรงเรียนแก้งคร้อวิทยา อินเตอร์เน็ต บ้านนาเสียว | -หัวหน้ากลุ่ม -สมาชิกทุกคน -สมาชิกทุกคน |
30 มกราคม - 3 กุมภาพันธุ์ 2554 | 7.วิเคราะห์ข้อมูล 8.สรุปผล | โรงเรียนแก้งคร้อวิทยา | -สมาชิกทุกคน |
4-6 กุมภาพันธุ์ 2554 | 9.เขียนรายงาน | โรงเรียนแก้งคร้อวิทยา | -สมาชิกทุกคน |
7 กุมภาพันธุ์ 2554 | 10.นำเสนอหน้าชั้นเรียน | -ห้องเรียน | -สมาชิกทุกคน |
บทที่ 4
ผลการศึกษา
1. ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการทอเสื่อกก
ในสมัยก่อนการทอเสื่อกกนิยมใช้กกเหลี่ยม ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าผือนา มีลักษณะเป็นเหลี่ยม ไม่มีความเหนียวหรือวาวมากนัก แต่ต่อมาตามห้วย หนอง คลองบึง ได้เกิดพืชชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายกับผือนา ชาวบ้านในท้องถิ่นเรียกว่า “ไหล” จึงมีคนลองเอามาทอเป็นเสื่อ และมีคุณสมบัติดีกว่าผือนา กล่าวคือ ลำต้นกลม ผิวอ่อนนุ่มเหนียว ไม่กรอบ เมื่อทอเสื่อแล้วนิ่มน่าใช้ ขัดถูจะมันน่าดู ในสมัยก่อนยังไม่นิยมย้อมสี เพราะวัตถุประสงค์ทอใช้ในครัวเรือนเท่านั้น แต่ปัจจุบันเมื่อต้นกกกลมมีมากในท้องถิ่น และสามารถปลูกได้ในทั่วทุกภาคของประเทศไทย จึงได้พัฒนาดัดแปลงลวดลาย สีสันให้สวยงาม จนกลายเป็นสินค้าในการจำหน่ายได้
การทอเสื่อกกของบ้านนาเสียว จากการสัมภาษณ์คุณยายกอ รุ่งโชติ คุณยายวัง นาดี ผู้รู้ในหมู่บ้านนาเสียว ได้กล่าวว่า การทอเสื่อกก ได้สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ สมัยปู่ย่าตายายส่วนใหญ่ทอเพื่อใช้สอยในครัวเรือน และสำหรับแลกเปลี่ยนสิ่งของซึ่งกันและกัน ส่วนมากทำกันในกลุ่มแม่บ้านที่ว่างจากการทำนา นิยมทำกันเกือบทุกครัวเรือน ถ้ามีปริมาณมากก็จำหน่ายในราคาผืนละ 40 บาท โดยประมาณ
2. ขั้นตอนวิธีการทอเสื่อกก
1. ขั้นเตรียมวัสดุ อุปกรณ์
1.1 ต้นกก
1.1 .1 ตัดหรือเก็บเกี่ยวต้นกกจากแหล่งธรรมชาติ ห้วย หนอง คลองบึงในท้องถิ่น
1.1.2 นำต้นกกมาแยก และเลือกกกที่มีขนาดเท่ากัน
1.1.3 นำต้นกกที่คัดเลือกได้ขนาดที่ต้องการแล้ว มาสอยเป็นสอง หรือ สามส่วน
ตามขนาดลำต้นของต้นกก ถ้าเส้นเล็กผืนเสื่อกกจะทอได้ละเอียดและแน่นหนา)
1.1.4 นำเส้นกกที่สอยเสร็จแล้วมาผึ่งแดดให้แห้ง ประมาณ 4 5 วัน
1.1.5 นำเส้นกกที่ผึ่งแดดจนแห้งมามัดเป็นกำ ๆ ประมาณ 1 กำมือ เพื่อเตรียม
นำไปย้อมสีตามต้องการ
1.2 การย้อมสี
1.2.1 เลือกซื้อสีที่ต้องการ (สีเคมี มีขายตามร้านค้า)
1.2.2 ออกแบบลายตามแบบที่ต้องการ
1.2.3 ก่อไฟ นำปีบที่ใส่น้ำ ประมาณ ครึ่ง ปีบ ต้นน้ำจนเดือด
1.2.4 นำสีที่ต้องการมาเทลงประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วคนให้สีละลาย
1.2.5 นำเส้นกกที่มัดไว้ มัดละ 1 กำมือ ลงไปย้อมโดยใช้เวลาประมาณ 3040 นาที การย้อมสีหลายสีควรใช้ปีบคนละใบ เนื่องจากสีจะปนกัน
1.2.6 นำเส้นกกที่ย้อมแล้วมาล้างน้ำเปล่าแล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้ง
1.3 การทอเสื่อกก
1.3.1 กางโฮงทอเสื่อกก
1.3.2 นำฝืนมาวางไว้ในช่องของโฮงทอ
1.3.3 สอดด้ายไนล่อนใส่ในรูฟืมโดยรูแรกและรูสุดท้ายใช้ด้าย 4 เส้น จากนั้นก็สอดด้ายตามรูที่เรากำหนดแบบไว้
1.3.4 วางไม้ขื่อบนหัวเสาโฮงทอเพื่อให้เส้นด้ายตรึง
1.3.5 ลงมือทอโดยใช้ไม้สอดเส้นกกใส่ตามฟืมคว่ำหรือหงายสลับกัน ทุกครั้ง
คนทอจะเก็บปลาย(ไพ)กกสลับซ้ายขวา
1.3.6 เมื่อทอได้พอขนาดจะต้องเก็บม้วนผืนเสื่อโดยยกไม้ขื่อลงแล้วม้วนเสื่อ
1.3.7 เมื่อทอเสร็จก็ตัดเสื่อออกจากโฮง แล้วมัดปลายเชือกให้เรียบร้อย
บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายและข้อเสนอแนะ
สรุปผลการศึกษา
ผลของการศึกษา เรื่อง การทอเสื่อกก ทำให้ได้ทราบว่า การทอเสื่อกกมีการสืบทอดมาตั้งแต่สมัย ปู่ย่า ตายาย โดยเริ่มแรกมีการใช้กกเหลี่ยม หรือที่เรียกว่าผือนา ยังไม่มีการย้อมสีผลิตภัณฑ์ หรือทำลวดลาย ส่วนใหญ่นำมาใช้ในครัวเรือน ส่วนในปัจจุบันนิยมใช้กกกลมมาใช้แทนกกเหลี่ยม เนื่องจาก หาง่ายในแหล่งธรรมชาติ และเมื่อนำมาทอเสื่อแล้ว มีคุณสมบัติเหนียว และเป็นมันวาว
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ได้เรียนรู้การทำงานจากประสบการจริง
2. ได้เรียนรู้จักการทำงานเป็นทีม
3. ได้ความรู้เรื่องการทอเสื่อกก จากผู้เชี่ยวชาญและปราชญาชาวบ้าน
4. ได้รับความสนุกสนานและเป็นการเสริมสร้างความสามัคคี
5. รู้จักการแก้ปัญหาในการทำงาน
6. มีความตระหนัก และเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น
ข้อเสนอแนะ
เปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างของผลิตภัณฑ์จากต้นกก ควรมีการพัฒนาและออกแบบลวดลายให้สวยงาม หลากหลาย และสร้างสรรค์
บรรณานุกรม
พธู. วัฒนธรรมไทย ประจำเดือน มิถุนายน 2542. หน้า 37 40.
เอกวิทย์ ณ ถลาง. ภูมิปัญญาชาวบ้านสี่ภาค : วิถีชีวิตและกระบวนการเรียนรู้ชาวบ้าน. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ภาคผนวก
ผลงานอื่นๆ ของ E~DeN^^ ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ E~DeN^^
ความคิดเห็น